แสดงไอเท็มเฉพาะจากวันที่ กรกฎาคม 2563

เลขที่หนังสือ    : ๐๗๐๒/๔๔๙๐
วันที่    : ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๑
เรื่อง    : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขออนุมัติเปลี่ยนแปลงวิธีการเฉลี่ยภาษีซื้อ
ข้อกฎหมาย    : มาตรา ๘๒/๖ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ               ตามหนังสือที่อ้างถึงแจ้งว่า บริษัท ก. จำกัด (บริษัทฯ) ขอให้กรมสรรพากรพิจารณาอนุมัติการเปลี่ยนแปลงวิธีการเฉลี่ยภาษีซื้อของบริษัทฯ
          โดย บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๕ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี ประกอบกิจการประเภทศูนย์การค้า โดยให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ให้เช่าพื้นที่และ/หรือให้บริการระบบสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น บริษัทฯ มีภาษีซื้อที่นำไปใช้กับกิจการทั้งสองประเภท และได้เฉลี่ยภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๙) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามมาตรา ๘๒/๖ แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ใช้วิธีปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามสัดส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงทั้งปีของกิจการทั้งสองประเภท บริษัทฯ ขอเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์วิธีการเฉลี่ยภาษีซื้อ จากเดิมใช้วิธีการปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงทั้งปีของกิจการทั้งสองประเภท เป็นวิธีการเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ของปีที่ผ่านมา โดยไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้ออีก เนื่องจากอัตราส่วนการเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย และเพื่อเป็นการลดภาระในการคำนวณภาษีและยื่นแบบปรับปรุงการเฉลี่ยภาษีซื้อทุกปี
แนววินิจฉัย               กรณีที่บริษัทฯ ประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และบริษัทฯ ประสงค์ที่จะขอเปลี่ยนแปลงวิธีการเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงทั้งปีของกิจการทั้งสองประเภทเป็นวิธีการเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ของปีที่ผ่านมา โดยไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้ออีก เริ่มตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชี ๑ มกราคม ๒๕๕๙ เป็นต้นไป กรณีดังกล่าว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระและสร้างความสมัครใจในการเสียภาษีของบริษัทฯ จึงอนุมัติให้บริษัทฯ เฉลี่ยภาษีซื้อด้วยวิธีการเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ของปีที่ผ่านมา โดยไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้ออีก ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชี ๑ มกราคม ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ตามที่บริษัทฯ ร้องขอ ทั้งนี้ ตามมาตรา ๘๒/๖ แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ ๒ (๓) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๙)ฯ ลงวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
เลขตู้    : ๘๑/๔๐๗๐๕

https://www.rd.go.th/

เผยแพร่ใน รับทำบัญชี

เลขที่หนังสือ: กค 0706/พ./3966

วันที่: 28 เมษายน 2546

เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเฉลี่ยภาษีซื้อ

ข้อกฎหมาย: ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29)ฯ

ข้อหารือ: บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2543
ประกอบกิจการส่งออกยางพาราแท่ง ในช่วงเริ่มต้นของการประกอบกิจการบริษัทฯ ได้ดำเนินการ
ก่อสร้างอาคารโรงงานเพื่อใช้เป็นโรงงานผลิตยางแท่งเพื่อส่งออกและมีการซื้อเครื่องจักร เครื่องมือ
อุปกรณ์เพื่อติดตั้งในโรงงาน บริษัทฯ ได้ขอคืนภาษีซื้อทั้งหมดเนื่องจากในช่วงแรกบริษัทฯ มีนโยบายที่จะ
ผลิตยางแท่งเพื่อส่งออกเพียงอย่างเดียว ต่อมาเมื่อเริ่มผลิตยางแท่งบริษัทฯ มีความจำเป็นทางด้าน
การค้าที่จะต้องขายยางแท่งในประเทศให้บริษัท ท. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือด้วยเนื่องจาก บริษัท ท. ไม่
สามารถผลิตยางแท่งส่งให้ลูกค้าในต่างประเทศได้ทันตามสัญญา บริษัทฯ มีรายได้จากการขายยางแท่งใน
ประเทศและส่งออกดังนี้
เดือนภาษี ขายในประเทศ อัตราส่วน ส่งออก อัตราส่วน
ส.ค.-ธ.ค. 2544 64,730,842.07 49.99 56,934,463.19 50.01
ม.ค.-ส.ค. 2545 79,107,390.59 25.15 235,451,892.34 74.85
เนื่องจากบริษัทฯ ไม่สามารถประมาณการการใช้พื้นที่อาคารที่จะใช้ในการประกอบกิจการ
ประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อนำมาหักออกจากภาษีขายได้ เพราะการผลิตยางแท่งเพื่อส่งออกและ
เพื่อขายในประเทศจะต้องใช้พื้นที่เดียวกัน ใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน ไม่สามารถแยกกัน
ได้อย่างชัดเจน ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามมาตรา
82/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2535 บริษัทฯ จึงขออนุมัติเฉลี่ยภาษีซื้อสำหรับ
วัสดุและการก่อสร้างอาคารโรงงานตามสัดส่วนรายได้ย้อนหลังไปถึงวันจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดย
บริษัทฯ ยินดีที่จะคืนภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนที่เกินตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29)ฯ ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2535

เผยแพร่ใน รับทำบัญชี

เลขที่หนังสือ    : กค 0702/2299
วันที่    : 24 มีนาคม 2552
เรื่อง    : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเฉลี่ยภาษีซื้อ
ข้อกฎหมาย    : มาตรา 82/5(6) และมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          บริษัทฯ จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศไทย และเป็นผู้ประกอบการผลิตและติดตั้งอุปกรณ์ ถ่ายเทความร้อนและชิ้นส่วนประกอบหม้อกำเนิดไอน้ำ ซึ่งมีลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ บริษัทฯ มีรายได้ จากกิจการ 3 ประเภท คือ การขายสินค้า/การให้บริการในราชอาณาจักร (อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0) การส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศ (อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 และการขายสินค้า/การบริการนอกราชอาณาจักร (ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม) จึงขอทราบว่า บริษัทฯ ต้องทำการเฉลี่ยภาษีซื้อหรือไม่ อย่างไร

เผยแพร่ใน รับทำบัญชี

กค 0706/พ./5030

วันที่:14 มิถุนายน 2549

เรื่อง:ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเฉลี่ยภาษีซื้อ

ข้อกฎหมาย:มาตรา 82/6 และมาตรา 91/2(1)(2) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ:    บริษัทฯ ประกอบกิจการขายสินค้าทั้งประเภทที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทฯ หารือ กรณีการเฉลี่ยภาษีซื้อในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยมีข้อเท็จจริงว่า
             1. กรณีบริษัทฯ มีรายได้จากการขายหุ้นโดยได้ขายหุ้นทั้งกรณีขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและกรณีการขายนอกตลาดหลักทรัพย์ ในการเฉลี่ยภาษีซื้อตามหลักเกณฑ์ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2535 บริษัทฯ ต้องนำรายได้จากการขายหุ้นดังกล่าว มาถือเป็นสัดส่วนรายได้ของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
             2. การประกอบกิจการของบริษัทฯ ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2535 บริษัทฯ มีสัดส่วนรายได้ของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ของกิจการทั้งหมด โดยแยกเป็นรายได้ของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 95 และเป็นรายได้ของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 5 ซึ่งบริษัทฯ ได้ทำการเฉลี่ยภาษีซื้อโดยนำภาษีซื้อทั้งจำนวนไปหักออกจากภาษีขาย ตามข้อ 3(1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าว ต่อมาเมื่อสิ้นปี 2548 ปรากฏว่าสัดส่วนของรายได้ของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ของกิจการทั้งหมด โดยแยกเป็นรายได้ของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 80 และเป็นรายได้ของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 20 ดังนั้น เมื่อสิ้นปี 2548 บริษัทฯ ต้องปรับปรุงภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในปี 2548 ให้เป็นไปตามจริงก่อน แล้วจึงนำสัดส่วนรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในปี 2548 ใช้เป็นสัดส่วนในการเฉลี่ยภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในปี 2549 หรือ บริษัทฯ ไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในปี 2548 โดยนำสัดส่วนรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในปี 2548 ใช้เป็นสัดส่วนในการเฉลี่ยภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในปี 2549 ได้
             3. เมื่อสิ้นปี 2549 หากปรากฏว่า บริษัทฯ มีสัดส่วนรายได้ของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ของกิจการทั้งหมด โดยแยกเป็นรายได้ของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 92 และเป็นรายได้ของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 8 บริษัทฯ ยังคงมีสิทธิเฉลี่ยภาษีซื้อโดยเลือกนำภาษีซื้อทั้งจำนวนไปหักออกจากภาษีขาย ตามข้อ 3(1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าว หรือไม่

เผยแพร่ใน รับทำบัญชี
วัน, วันที่ เดือน ปี ชม:นาที

วิธีการเฉลี่ยภาษีซื้อ

เลขที่หนังสือ    : กค 0702/306
วันที่    : 11 มกราคม 2556
เรื่อง    : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีขออนุมัติเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การเฉลี่ยภาษีซื้อ
ข้อกฎหมาย    : มาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ              บริษัทฯ ได้ยื่นคำร้องขออนุมัติหลักเกณฑ์การเฉลี่ยภาษีซื้อ โดยมีข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า
          1. บริษัทฯ จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบกิจการให้เช่าพื้นที่สำนักงาน มีรายได้จากค่าเช่าพื้นที่ ค่าไฟฟ้า น้ำประปา และค่าบริการส่วนกลาง
          2. บริษัทฯ ได้ยื่นคำร้องขออนุมัติเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์วิธีการเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงทั้งปีของกิจการทั้งสองประเภท เป็นเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ของปีที่ผ่านมา โดยไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้ออีก เพื่อลดภาระในการจัดทำบัญชีของบริษัทฯ เนื่องจากอัตราส่วนการเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และในส่วนที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ซึ่งมีผลกระทบต่อการเฉลี่ยภาษีซื้อนำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระไม่มากนัก

เผยแพร่ใน รับทำบัญชี